มีระยะฟักตัว ๔-๗ วนั จากนั้นจะมีอาการ ไข้ปวดศีรษะรุนแรง มีผื่นแบบ maculopapular ที่บริเวณลำตัว แขนขา, วิงเวียน , เยื่อบุตาอักเสบ ตาแดง ปวดข้อ อาจจะมีอาการต่อมน้ำเหลืองโต และอุจจาระร่วง
ตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๔๙๔ ถึง ๒๕๓๕ มีข้อบ่งชี้ทางน้ำเหลืองวิทยาว่ามีการติดเชื้อไวรัสซิกา ในประเทศกลุ่มแอฟริกา ได้แก่ ยูกันดา , แทนซาเนีย, อียิปต์, อัฟริกากลาง สาธารณรัฐเซียร์ราลีโอน และกาบอง ในส่วนของเอเชียมีรายงานพบในประเทศอินเดีย, มาเลเซีย, ฟิลิปปินส์, ไทย, เวียดนามและอินโดนีเซีย ล่าสุดในปี พ.ศ. ๒๕๕๐ (ค.ศ. ๒๐๐๗) ได้รายงานการระบาดของไข้ซิกา ในหมู่เกาะแยป
ในประเทศไทย มีผู้รายงานว่าตรวจพบแอนติบอดีชนิดทำลายล้างไวรัสซิกา ในผู้ที่อาศัยในประเทศไทยเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๐๖ (ค.ศ. ๑๙๖๓) และล่าสุด มีรายงาน ผู้ป่วยหญิงนักท่องเที่ยวจากแคนาดา ซ่ึงเดินทางมาประเทศไทยในช่วงเวลา ๒๑ มกราคม-๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๖ และมีอาการภายหลังจากเดินทางกลับถึงประเทศแคนาดาเป็นเวลา ๔ วนั โดยเริ่มป่วย วันที่ ๕ กุมภาพนธ์ ๒๕๕๖ มีอาการไข้อ่อนเพลีย ปวดศีรษะกระสับกระส่าย หนาวสั่น คลื่นไส้อาเจียน ปวดหลัง และปวดข้อ ได้รับการตรวจทางหองปฏิบัติการยืนยันการติดเชื้ออไวรัสซิกา (Zika virus) ซึ่งขณะนี้กรมควบคุมโรคยังเฝ้าระวงโรคนี้อยู่
การตรวจวินิจฉัยทางห้องปฏิบัติการเพื่อยืนยันการติดเชื้อ ทำได้ ๒ วิธีดังนี้ ๑)การตรวจหาสารพันธุกรรม ด้วยวิธีพีซีอาร์เก็บตัวอย่างน้ำเหลืองเร็วที่สุดหลังจากที่เริ่มมีอาการเจ็บป่วย ซึ่งไม่ควรเกิน ๙ วันหลังมีอาการ และ ๒) การตรวจหาแอนติบอดีชนิดเอ็มที่จำเพาะต่อไวรัสซิกาด้วยวิธีอิไลซ่า ซ่ึงเป็นพัฒนาวิธีโดย ศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคสหรัฐอเมริกา โดยเก็บตัวอย่าง ๒ ครั้ง ครั้งแรกในวันที่เริ่มมีอาการ และตัวอย่างที่สองห่างจากตัวอย่างแรก 2-3 สัปดาห์ ซึ่งสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สาธารณสุข โดยฝ่ายอาโบไวรัส มีแผนการที่จะติดตั้งวิธีการตรวจวินิจฉัยทางห้องปฏิบัติ โรคไข้ซิกาในเร็วๆน้ี
ปัจจุบนั ยังไม่มีวัคซีนป้องกันเฉพาะ การรักษาจะรักษาตามอาการเพื่อบรรเทาการเจ็บป่วย
ฝ่ายอาโบไวรัส
สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สาธารณสุข
กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์
แหล่งข้อมูล
http://nih.dmsc.moph.go.th/login/showimgpic.php?id=34
No comments:
Post a Comment