Tuesday, February 9, 2016

โรคริดสีดวงทวาร สาเหตุ อาการ และการรักษา โรคริดสีดวงทวาร


การดูแลตนเองเมื่อเป็นโรคริดสีดวงทวาร



โรคริดสีดวงทวาร โรคริดสีดวงนี้ถ้าใครเป็นอาจจะอายไม่กล้าบอกใครหรือไม่กล้าไปรักษา แต่โรคนี้ถ้าหากปล่อยไว้นานอาจจะเรื้อรังได้ ควรรีบไปพบแพทย์ตั้งแต่ระยะแรกๆ อย่ารอให้เป็นมาก แล้วค่อยไป  โรคริดสีดวงถ้าใครเป็นแล้วอาจจะไม่หายขาดแต่จะช่วยให้เบาเทาลง มีวิธีการป้องกันไม่ให้เป็นหรือถ้าหากเป็นแล้วควรจะต้องงดหลายอย่างที่จะทำให้โรคริดสีดวงนั้นเป็นหนักขึ้น
ริดสีดวงทวาร

สารบัญโรคริดสีดวงทวาร

1.      โรคริดสีดวงทวาร คือ

2.      การป้องกันโรคริดสีดวงทวาร

3.      อาการของโรคริดสีดวงทวาร

4.      วีธีการรักษา

5.      ผู้ที่เสี่ยงที่จะเป็นโรคริดสีดวงทวาร


โรคริดสีดวงทวาร คือ
การมีหลอดเลือดขอดโป่งพองของผนังเยื่อบุทวารหนัก ซึ่งเมื่อเกิดขึ้นจะพบเป็นก้อนโป่งพอง โผล่ออกมาขณะอุจจาระ หรืออาจทำให้เกิดอาการเลือดออกขณะหรือหลังถ่ายอุจจาระได้      โดยปกติแล้วที่ บริเวณทวารหนักจะมีเลือดมาเลี้ยงมาก และมีลักษณะพิเศษอีก คือ มีกลุ่มหลอดเลือดดำสานเป็นร่างแหที่บริเวณเยื่อบุทวารหนัก 3 กลุ่มใหญ่ โดยรอบทวารหนัก เลือดภายในกลุ่มหลอดเลือดดำเหล่านี้จะไหลถ่ายเทขึ้นไปสู่หลอดเลือดดำใหญ่ภาย ในช่องท้อง แต่ถ้าหลอดเลือดไหลถ่ายเทไม่สะดวก และเป็นบ่อย ๆ จะเกิดการคั่งขึ้นภายในร่างแหหลอดเลือดดำ เกิดเป็นหลอดเลือดขอดโป่งพองขึ้นได้ เรียกว่า ริดสีดวงทวารหนัก ริดสีดวงทวารหนักอาจเกิดเป็นแบบภายในหรือภายนอก ขึ้นกับว่าเกิดที่หลอดเลือดภายใน หรือนอกทวารหนัก ส่วนมากมักเป็นแบบภายใน

สาเหตุ โรคริดสีดวงทวาร  >>>   นั้นเกิดมาจากท้องผูก การตั้งครรภ์ ซึ่งในกรณีของการตั้งครรภ์นี้โรคริดสีดวงทวาร จะหายได้เองเมื่อคลอดบุตรแล้ว ส่วนสาเหตุอื่นๆ ก็เช่น พันธุกรรมและความชรา แต่สาเหตุหลักๆ ก็เกิดจากพฤติกรรมที่ผิด โดยเฉพาะการถ่ายอุจจาระ บางคนปล่อยให้ท้องผูกเรื้อรัง ไม่ชอบรับประทานผัก ผลไม้หรืออาหารที่มีเส้นใย ดื่มน้ำน้อย หรือชอบเบ่งแรงๆ เวลาถ่ายอุจจาระ เหล่านี้ก็ล้วนเป็นสาเหตุของการเกิดริดสีดวงทวาร แต่โชคร้ายโรคนี้ไม่สามารถรักษาให้หายขาด เว้นแต่จะปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการรับประทานอาหารและการถ่ายอุจจาระ

การป้องกันโรคริดสีดวงทวาร

1. พฤติกรรมการเบ่งอุจจาระแรงๆ (ท้องผูก) หรือการนั่งส้วมนานๆ จะทำให้ริดสีดวงอาการเป็นมากขึ้น พยายามอย่าปล่อยให้เกิดขึ้นบ่อยๆ เพราะจะเป็นการเพิ่มอาการริดสีดวงให้มากขึ้น

2. อย่าถูแรงๆบริเวณรอบๆทวารหนักเพราะจะเพิ่มการระคายเคืองต่ออาการริดสีดวง

3. พยายามกินอาหารที่มีเส้นใยสูง (High fiber) เช่น ผัก-ผลไม้ ธัญพืช เพื่อช่วยให้การขับถ่ายอุจจาระได้ง่ายขึ้น

4. ให้ดื่มน้ำสะอาดอย่างน้อยวันละ 8 แก้วทุกวัน

5. ควรออกกำลังกายทุกวันจะเป็นการช่วยกระตุ้นการทำงานของลำไส้ ทำให้การถ่ายอุจจาระทำได้ง่ายขึ้น

6. ถ้าไม่รู้สึกปวดถ่ายก็อย่าฝืนเบ่งอุจจาระหรือนั่งส้วมนาน

7. การลดอาการปวดและอักเสบจากอาการริดสีดวงทวารให้นั่งแช่ในน้ำอุ่น 10-15 นาที หากปวดมากให้กินยาแก้ปวดหรือแก้อักเสบแล้วแต่อาการ

8. กินยาเพื่อช่วยลดอาการคั่งของเลือดเช่น Venoluton หรือ  Daflon

9. ให้เหน็บยาที่ทวารหนักตอนเช้าและก่อนนอน วันละ 2 ครั้งเพื่อช่วยให้ริดสีดวงอาการดีขึ้น

10. หากอาการริดสีดวงไม่ดีขึ้นภายใน 1-2 อาทิตย์ต้องรีบปรึกษาแพทย์.



อาการของโรคริดสีดวงทวาร
ผู้ที่เป็นริดสีดวงทวารหนัก โดยมากมักมีอาการถ่ายเป็นเลือด เลือดที่ออกมักจะเป็นเลือดสดๆ ระยะแรกอาจสังเกตว่ามีเลือดติดกระดาษชำระหลังอุจจาระ หรือเคลือบอุจจาระออกมา ต่อมาอาจออกมากจนมีเลือดหยดลงในโถส้วมขณะถ่ายอุจจาระ ถ้าเป็นมากขึ้นจะพบว่ามีก้อนโผล่ออกมาทางทวารหนัก โดยเฉพาะหลังถ่ายอุจจาระโดยมากจะไม่มีอาการเจ็บปวด (นอกจากถ้ามีการอักเสบร่วมด้วย) ยกเว้นในพวกที่เป็นริดสีดวงทวารหนักแบบภายนอก ซึ่งมักพบก้อนที่ทวารหนักตั้งแต่ระยะแรก และโดยมากจะเจ็บปวดที่ก้อนริดสีดวง จากอาการดังกล่าวทำให้แพทย์แบ่งริดสีดวงทวารหนักออกเป็น 4 ระยะ คือ

ระยะที่ 1 มีแต่อาการเลือดออก การตรวจต้องใช้เครื่องมือพิเศษส่องเข้าไปดูภายในทวารหนัก มองจากภายนอก หรือคลำดูจะไม่สามารถบอกได้เลย

ระยะที่ 2 ถ่ายอุจจาระแล้วมีก้อนริดสีดวงทวารหนักโผล่ออกมาเวลาเบ่ง แต่หดกลับเข้าไปได้เอง

ระยะที่ 3 ถ่ายอุจจาระแล้วริดสีดวงโผล่ออกมา และไม่หดกลับเข้าเองต้องใช้นิ้วมือดันกลับจึงเข้า

ระยะที่ 4 ริดสีดวงทวารโผล่ออกมาภายนอก และไม่สามารถดันกลับเข้าไปได้

อาการเลือดออกทางทวารหนัก หรือถ่ายเป็นเลือดแม้ว่ากว่า 90% จะเป็นริดสีดวงทวารหนัก แต่ก็อาจเกิดจากโรคอื่นได้ โดยเฉพาะโรคที่ร้ายแรง เช่น มะเร็งของลำไส้ใหญ่ และทวารหนัก ดังนั้นจึงควรได้รับการตรวจยืนยันว่าไม่มีโรคร้ายแรงเกิดขึ้น แต่ริดสีดวงทวารหนักเองนั้นไม่ใช่มะเร็ง และไม่ใช่สาเหตุให้เกิดมะเร็ง และการวินิจฉัยที่แน่นอนจะต้องตรวจโดยใช้กล้องส่องดูภายในทวารหนัก


วีธีการรักษา โรคริดสีดวงทวาร

1. ให้ยาชนิดป้าย หรือยาเหน็บทวารหนัก ใช้กับโรคระยะที่ 1

2. ใช้ยาฉีดหัวริดสีดวงทวารหนัก ยาจะทำให้หลอดเลือดดำฝ่อ และหัวริดสีดวงทวารหนักยุบลง ใช้กับโรคระยะที่ 2 การฉีดยาจะไม่เกิดอาการเจ็บปวดเลย ได้ผลดีมาก

3. ใช้ยางรัดหัวริดสีดวงทวารหนัก วิธีนี้จะรัดที่หัวริดสีดวงทำให้หัวริดสีดวงฝ่อแล้วหลุดไปเอง หลังรัดด้วยยางประมาณ 7 วัน ได้ประโยชน์ และผลดีในโรคระยะที่ 2 โดยเฉพาะเมื่อหัวริดสีดวงมีขนาดใหญ่ และพบว่ามักไม่มีอาการเจ็บปวดขณะใช้ยารักษาเช่นเดียวกัน

4. ใช้เครื่องขยายทวารหนัก หรือใช้ความเย็นจัด หรือใช้แสงอินฟราเรด เป็นวิธีการรักษาที่ใช้กับระยะที่ 2 แต่ยังไม่ค่อยนิยมเท่าแบบที่ 2, 3

5. ผ่าตัดใช้สำหรับโรคระยะที่ 3 และ 4 ซึ่งนับว่าเป็นมากแล้ว ความจริงการผ่าตัดไม่น่ากลัวเลย และไม่เจ็บขณะทำผ่าตัด เพราะแพทย์จะให้ยาสลบหรือฉีดยาชาเข้าไขสันหลัง หลังผ่าตัดอาจจะเจ็บปวดบ้าง แต่ก็ไม่มากมาย และสามารถระงับได้โดยยาแก้ปวด อยู่โรงพยาบาลประมาณ 3-4 วัน


ผู้ที่เสี่ยงที่จะเป็นโรคริดสีดวงทวาร

ท้องผูก การนั่งแช่นานๆ รวมทั้งนั่งถ่ายอุจจาระนานๆ ทำให้ต้องเบ่งอุจจาระเป็นประจำ แรงเบ่งจะเพิ่มความดัน และ/หรือการบาดเจ็บในกลุ่มเนื้อเยื่อหลอดเลือด ส่งผลให้หลอดเลือดโป่งพอง หรือหลอดเลือดขอดได้ง่าย

ท้องเสียเรื้อรัง การอุจจาระบ่อยๆจะเพิ่มความดัน และ/หรือการบาดเจ็บต่อกลุ่มเนื้อเยื่อหลอดเลือด เช่นกัน

อายุ ผู้สูงอายุจะมีการเสื่อมของเนื้อเยื่อต่างๆรอบหลอดเลือด รวมทั้งของกลุ่มเนื้อเยื่อหลอดเลือด หลอดเลือดจึงโป่งพองได้ง่าย

การตั้งครรภ์ เพราะน้ำหนักของครรภ์จะกดทับลงบนกลุ่มเนื้อเยื่อหลอดเลือด จึงเกิดหลอดเลือดบวมพองได้ง่าย

โรคอ้วนและน้ำหนักตัวเกิน ส่งผลให้เพิ่มแรงดันในช่องท้องและในอุ้งเชิงกรานสูงขึ้น เช่นเดียวกับในหญิงตั้งครรภ์

การมีเพศสัมพันธ์ทางทวารหนัก จึงเกิดการกดเบียดทับ/บาดเจ็บต่อกลุ่มเนื้อเยื่อหลอดเลือดส่วนนี้เรื้อรัง จึงมีเลือดคั่งในหลอดเลือด เกิดโป่งพองได้ง่าย

โรคแต่กำเนิดที่ไม่มีลิ้นปิดเปิด (Valve) ในหลอดเลือดดำในเนื้อเยื่อหลอดเลือดซึ่งช่วยในการไหลเวียนเลือด จึงเกิดภาวะเลือดคั่งในหลอดเลือด จึงเกิดหลอดเลือดโป่งพองง่าย

อาจจากพันธุกรรม เพราะพบโรคได้สูงกว่า เมื่อครอบครัวมีประวัติเป็นโรคริดสีดวงทวาร


Key: โรคริดสีดวงทวาร, ริดสีดวงทวาร, hemorrhoids, haemorrhoids, piles


แหล่งข้อมูล

http://siamhealth.net/

http://blog.eduzones.com/poonpreecha/81665

http://zoneplus.net/

No comments:

Post a Comment