Thursday, February 18, 2016

Hemostasis

Watch the animated processes of hemostasis, coagulation and fibrinolisis. Created by Dr. Paulo Cesar Naoum and Alia F. M. Naoum. Animated by Birdo.



What Hemostasis is?



Hemostasis - Helpful Blood Clotting


Key: Hemostasis, Coagulation, Fibrinolisis, Blood Clotting



การห้ามเลือด (Hemostasis)

การห้ามเลือด (ข้อมูลโดย หมอชาวบ้าน)

สำหรับภาวะเลือดออกภายนอก ให้ห้ามเลือดดังนี้
สำหรับภาวะเลือดออกภายนอก
  1. ถ้าเลือดออกจากบาดแผล และบาดแผลมีขนาดเล็ก ให้ล้างแผล แล้วใช้นิ้วมือที่สะอาดกดลงตรงปากแผล หรือจะใช้แผ่นผ้าสะอาดวางลงบนบาดแผล แล้วกดให้แน่นประมาณ 5-10 นาที จนเลือดหยุดแล้วจึงหยุดกดและใช้ผ้าพันไว้.
  2. ถ้าเลือดออกจากบาดแผล และบาดแผลมีขนาดใหญ่ ให้ล้างแผลใช้แผ่นผ้าพับปิดปากแผล แล้วใช้ส้นมือหรือฝ่ามือกดให้แน่นประมาณ 10-15 นาที จนเลือดหยุด แล้วรีบส่งโรงพยาบาล.
    ถ้าเลือดไม่หยุดไหล และแผลเกิดที่แขนหรือขา ให้ใช้ส้นมือกดที่หลอดเลือดแดงที่แขนพับ (ดูรูป) หรือที่ขาหนีบ (ดูรูป) จนเลือดพอไหลซึมๆ อย่ากดจนแขนหรือขาซีดหรือเขียว แล้วรีบส่งโรงพยาบาล.

    การกดแขนพับเพื่อห้ามเลือดที่ไหลออกจากบาดแผลใหญ่ใต้ศอกลงไป
    การกดแขนพับเพื่อห้ามเลือดที่ไหลออกจากบาดแผลใหญ่ใต้ศอกลงไป

    การกดขาหนีบเพื่อห้ามเลือดที่ขา
    การกดขาหนีบเพื่อห้ามเลือดที่ขา


    ถ้าเป็นบาดแผลที่อวัยวะถูกตัดขาด ให้ห้ามเลือดเช่นเดียวกับข้างต้นและนำอวัยวะส่วนที่ถูกตัดขาดใส่ถุงพลาสติกที่สะอาดและแห้ง (ห้ามล้างอวัยวะที่ถูกตัดขาด) แล้วปิดปากถุงให้แน่น แล้วแช่ถุงนั้นในถุงพลาสติกหรือภาชนะที่ใหญ่กว่าที่มีน้ำผสมน้ำแข็งอยู่ แล้วนำส่งโรงพยาบาลพร้อมผู้ป่วย.
  3. ถ้าเลือดออกตามไรฟัน หรือเหงือก ให้อมน้ำเย็นหรือน้ำแข็งจนเลือดหยุด/ออกน้อยลง แต่ถ้าเลือดออกตรงที่ฟันหลุด/ถอนฟัน ให้ใช้ก้อนผ้า (ผ้าชิ้นเล็กๆ ม้วนเป็นก้อนกลม) วางลงตรงจุดที่เลือดออกแล้วกัดไว้ให้แน่นประมาณ 10-15 นาทีหรือนานกว่านั้น จนเลือดหยุด.
    ถ้าเลือดไม่หยุดไหล หรือไหลออกมาใหม่หลังหยุดไปแล้ว ให้ทำแบบเดิมและไปพบหมอฟัน.
  4. ถ้าเลือดออกจากจมูกหรือตกไปหลังคอหอย แล้วขากออกมาเป็นเลือดที่เรียกว่า “เลือดกำเดา” ให้นั่งพัก ก้มศีรษะไปข้างหน้า บีบจมูก (ส่วนที่ไม่ใช่กระดูกแข็ง) ให้แน่นอย่างน้อย 5-10 นาที จนเลือดหยุด ระหว่างนั้นให้หายใจทางปาก ถ้าเลือดตกไปที่คอหอยข้างในให้บ้วนออกมา ถ้ามีน้ำแข็งหรือผ้าเย็นให้ใช้โปะบริเวณจมูก หลัง 5-10 นาที ค่อยคลายมือที่บีบจมูก ถ้ายังมีเลือดออกให้บีบใหม่ 10-15 นาที ถ้ายังมีเลือดออกอีกให้ไปที่โรงพยาบาล.

    เลือดกำเดา
    เลือดกำเดา
  5. ถ้าเลือดออกจากก้น (ทวารหนัก) เป็นเลือดสดๆ หยดออกมาเมื่ออุจจาระแข็งหรือเบ่งอุจจาระมาก ซึ่งมักเกิดจากริดสีดวงทวารไม่ต้องตกใจ ให้ขมิบก้นไว้ และนั่งทับก้อนผ้าที่วางไว้ตรงปากก้น (ปากทวารหนัก) แล้วไปโรงพยาบาล.
หมายเหตุ: ควรใส่ถุงมือยางหรือหาถุงพลาสติกหุ้มมือตนเองก่อนสัมผัสเลือดผู้บาดเจ็บ ห้ามให้อาหาร น้ำ หรือยาแก่ผู้บาดเจ็บที่เสียเลือดมาก ข้ามขันชะเนาะเพื่อห้ามเลือด.

สำหรับภาวะเลือดออกภายใน
การห้ามเลือดทำได้ยาก หรืออาจทำไม่ได้เลย แต่สามารถช่วยปฐมพยาบาล ได้ดังนี้
  1. ให้ผู้ป่วยพักในท่าที่สบายที่สุด แต่ถ้าหน้ามืดเป็นลม ควรจัดให้นอนราบ ไม่หนุนหมอน และใช้หมอนหนุนขาทั้ง 2 ข้างให้สูงขึ้น.
  2. ปลอบใจให้ผู้ป่วยไม่ตื่นเต้นตกใจ และสงบ เลือดจะออกน้อยลง.
  3. พัดโบกลมให้ผู้ป่วยถ้าผู้ป่วยไม่หนาว.
  4. ให้ดมยาหอม/ยาดมอื่นๆ ที่ทำให้ชื่นใจ.
  5. เก็บเลือดหรือสิ่งอื่นที่ผู้ป่วยไอ/อาเจียน/ถ่ายออกมาไปให้หมอดูด้วย.
  6. ห้ามให้อาหารและน้ำทางปาก จนกว่าหมอจะอนุญาต.
  7. ถ้าไอเป็นเลือด ให้ผู้ป่วยพยายามไอเบาๆ (กระแอม) แทนการไอแรงๆ จะทำให้เลือดออกน้อยลง.
ถ้าบริเวณที่กระดูกหักบวมขึ้นมาก แสดงว่ามีเลือดออกภายในบริเวณนั้น พยายามให้ส่วนนั้นอยู่นิ่งๆ ถ้าตรึง/ดาม/รัดได้ ควรจะทำทันที แต่ต้องระวังไม่ให้การตรึง/ดาม/รัด ทำให้ผู้ป่วยเจ็บปวดมากขึ้น หรือส่วนปลาย (ต่ำจากที่ตรึง/ดาม/รัด) เกิดอาการซีดขาว/เขียว/เย็น/บวม/ชาขึ้น ถ้าเป็นเช่นนั้น ต้องคลายสิ่งที่รัดออกจากส่วนปลายหายซีดขาว/เขียว/เย็น/บวม/ชา ทันที

Key: ห้ามเลือด, Hemostasis

แหล่งข้อมูล
https://www.doctor.or.th/doctorme/first-aid/12516

Wednesday, February 17, 2016

ติดเชื้อในกระแสเลือด (Septicemia)

ภาวะพิษเหตุติดเชื้อ หรือ Sepsis คือ ภาวะที่ร่างกายของเรามีปฏิกิริยาตอบ สนองต่อการติดเชื้อ หรือต่อพิษของเชื้อโรค โดยทำให้เกิดการอักเสบขึ้นทั่วทั้งร่าง กาย ซึ่งการติดเชื้อนี้ อาจเกิดขึ้นที่ตำแหน่งใดตำแหน่งหนึ่งของร่างกาย หรือเป็นการติดเชื้อทั่วร่างกายก็ได้

ภาวะติดเชื้อในกระแสเลือด (โลหิต) หรือ Septicemia คือ การที่ตรวจพบว่ามีเชื้อโรคเข้าสู่กระแสเลือด และทำให้เกิดภาวะ Sepsis ขึ้นมา ดังนั้นทั้งสองภาวะจึงเป็นภาวะเกี่ยวข้องต่อเนื่องกัน และมักใช้ในความหมายเดียวกัน

คำว่า Sepsis มาจากภาษากรีกโบราณ แปลว่า เน่าเปื่อย พุพัง โดย Sir William Osler แพทย์ชาวแคนาดา เป็นคนแรกที่ค้นพบว่า บางครั้งสาเหตุการเสีย ชีวิตของผู้ป่วยที่ติดเชื้อ ไม่ได้เป็นผลมาจากเชื้อโรคโดยตรง แต่มาจากปฏิกิริยาตอบสนองของร่างกายที่มีต่อเชื้อโรคนั่นเอง ในปี พ.ศ. 2457 Schottmueller แพทย์ชาวเยอรมันได้ให้นิยามคำว่า Septicemia คือการที่เชื้อโรคลุกลามเข้าสู่กระ แสเลือด และทำให้เกิดอาการต่างๆ หลังจากนั้น ได้มีการเปลี่ยนแปลง และเพิ่มเติมคำศัพท์ และความหมายโดยกลุ่มแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคปอด และด้านการ แพทย์ในภาวะวิกฤติ ชื่อ American College of Chest Physicians และ Society of Critical Care Medicine ให้เป็นดังที่ได้กล่าวไว้ในตอนต้นและที่จะกล่าวต่อไป

ภาวะพิษเหตุติดเชื้อ/ภาวะติดเชื้อในกระแสเลือด พบได้ในคนทุกเชื้อชาติ แต่มักเกิดในผู้สูงอายุ เนื่องจากเป็นวัยที่มีโรคประจำตัวมากกว่าวัยอื่น และพบว่าผู้ ชายมีโอกาสเกิดมากกว่าผู้หญิงเล็กน้อย

ปัจจุบัน พบการเกิดภาวะพิษเหตุติดเชื้อ/ภาวะติดเชื้อในกระแสเลือดมากขึ้น เนื่องจากจำนวนประชากรผู้สูงอายุมีมากขึ้น รวมทั้งผู้ที่มีโรคประจำตัวก็มีอายุยืนยาวขึ้นจากการรักษาโรคประจำตัวเหล่านี้มีประสิทธิภาพดีกว่าสมัยก่อน นอกจากนี้ ในปัจจุบัน การรักษาผู้ป่วยที่รักษาอยู่ในโรงพยาบาลก็ซับซ้อนยุ่งยาก มีการใส่เครื่อง มือ และสายสวนต่างๆเข้าร่างกาย และมีการใช้ยาปฏิชีวนะพร่ำเพรื่อ ซึ่งต่างก็เป็นปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดภาวะติดเชื้อด้วยเช่นกัน ทั้งนี้ โดยประมาณ 2 ใน 3 ของผู้ที่มีภาวะพิษเหตุติดเชื้อ/ภาวะติดเชื้อในกระแสเลือด เกิดในผู้ป่วยที่รักษาอยู่ในโรง พยาบาลนั่นเอง

แหล่งข้อมูล
http://haamor.com/th/ภาวะติดเชื้อในกระแสเลือด


ถาม : ปรางทิพย์/กาญจนบุรี

พ่อดิฉันป่วยเป็นไข้หวัดใหญ่แล้วติดเชื้อในกระแสเลือด คุณหมอได้ให้ยาฆ่าเชื้อจนอาการเป็นปกติ จึงอยากทราบรายละเอียดของการติดเชื้อในกระแสเลือดค่ะ

ตอบ : นพ.อมร ลีลารัศมี

การติดเชื้อในกระแสเลือด เป็นโรคที่มีอัตราการตายสูงมาก และตายอย่างรวดเร็วถ้าหากได้รับการรักษาไม่ทันท่วงที เพราะเลือดคือองค์ประกอบหลักของร่างกายไหลไปอวัยวะทุกส่วน หากมีความรุนแรงของเชื้อมากอาจทำให้เกิดการอักเสบทั่วร่างกาย การติดเชื้อทุกส่วนของร่างกายสามารถทำให้เกิดการติดเชื้อในกระแสเลือดได้ทั้งสิ้น ไม่ว่าจะเป็นปอด ทางเดินปัสสาวะ ทางเดินอาหาร หรือผิวหนัง ซึ่งภาวะนี้จำเป็นต้องให้การรักษาอย่างทันที เพราะถ้ามีอาการรุนแรงอาจทำให้ต้องเสียชีวิตได้

ผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะนี้ ส่วนใหญ่จะเป็นผู้ป่วยเด็ก เนื่องจากระบบภูมิคุ้มกันยังพัฒนาได้ไม่เต็มที่ ผู้ป่วยสูงอายุ เพราะการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันเริ่มเสื่อม และผู้ป่วยที่มีภูมิคุ้มกันในร่างกายต่ำ หรือผู้ป่วยที่มีโรคร่วมหลายอย่าง เช่น เบาหวาน ไตวายเรื้อรัง เป็นต้น

นอกจากปัจจัยของผู้ป่วยแล้ว ปัจจัยของเชื้อก่อโรคที่เป็นสาเหตุก็เป็นปัจจัยที่สำคัญ เช่น ถ้าเป็นเชื้อที่มีความรุนแรงหรือเป็นเชื้อดื้อยาหลายชนิด ก็จะทำให้ผู้ป่วยมีอาการรุนแรงได้เช่นกัน

ผู้ป่วยจะมาโรงพยาบาลด้วยอาการของการติดเชื้อของอวัยวะที่เป็นสาเหตุ มีไข้ หายใจเหนื่อย  อาจซึมหรือหมดสติ ในรายที่มีอาการรุนแรงจะมีความดันโลหิตต่ำหรือภาวะช็อก การทำงานของอวัยวะต่างๆ เช่น ไต ปอด หัวใจล้มเหลวได้  ซึ่งเป็นสาเหตุที่สำคัญของการเสียชีวิต

ส่วนการรักษา แพทย์จะให้ยาปฏิชีวนะที่ครอบคลุมเชื้อก่อโรคที่สงสัย การให้สารน้ำให้เพียงพอ ถ้ามีอาการหอบเหนื่อยมาก อาจจำเป็นต้องใส่ท่อหลอดลมช่วยการหายใจ และติดตามอาการอย่างใกล้ชิด โดยทั่วไปแล้วแพทย์จะให้ผู้ป่วยนอนโรงพยาบาลเพื่อติดตามอาการ ผู้ป่วยที่มีความดันเลือดต่ำเนื่องจากอาการติดเชื้อ หรือไม้ไข้สูงอาจต้องนอนโรงพยาบาลนานหลายวัน

Key: ติดเชื้อในกระแสเลือด, Sepsis, Septicemia

แหล่งข้อมูล
https://www.doctor.or.th/ask/detail/14576

Monday, February 15, 2016

Most prescribed drug in the United States

(Image from: http://www.shoppillmart.biz/buy-synthroid-online.php)

The top 10 medications by number of monthly prescriptions in United States
(Data released  from April 2014 through March 2015):
1. Synthroid (levothyroxine), 21.5 million
2. Crestor (rosuvastatin), 21.4 million
3. Ventolin HFA (albuterol), 18.2 million
4. Nexium (esomeprazole), 15.2 million
5. Advair Diskus (fluticasone), 13.7 million
6. Lantus Solostar (insulin glargine), 10.9 million
7. Vyvanse (lisdexamfetamine), 10.4 million
8. Lyrica (pregabalin), 10.0 million
9. Spiriva Handihaler (tiotropium), 9.6 million
10. Januvia (sitagliptin), 9.1 million

Source:
http://www.webmd.com/news/20150508/most-prescribed-top-selling-drugs


Top 100 Prescriptions, Sales (100 Best-Selling)
Drug NameSales
Synthroid21,561,481
Crestor21,478,776
Ventolin HFA18,203,939
Nexium15,298,228
Advair Diskus13,776,325
Lantus Solostar10,939,840
Vyvanse10,413,999
Lyrica10,022,365
Spiriva Handihaler9,635,935
Januvia9,148,946
Lantus9,145,153
Abilify9,099,978
Symbicort8,265,594
Tamiflu8,025,275
Cialis7,472,719
Viagra7,104,074
Suboxone6,985,631
Zetia6,925,137
Xarelto6,739,752
Bystolic6,461,435
Celebrex6,449,730
Nasonex6,432,382
Namenda5,961,360
Flovent HFA5,736,650
Oxycontin5,347,532
Diovan5,224,025
Thyroid5,128,576
Voltaren Gel5,123,676
Nuvaring4,917,514
Afluria4,650,167
Dexilant4,620,902
Benicar4,483,555
Proventil HFA4,385,623
Humalog4,209,193
Novolog Flexpen4,179,914
Novolog3,968,615
Vesicare3,686,182
Premarin3,462,987
Benicar HCT3,352,383
Lo Loestrin Fe3,335,659
Lumigan3,298,208
Namenda XR3,157,234
Humalog Kwikpen3,043,015
Janumet3,027,293
Pataday2,905,818
Ortho-Tri-Cy Lo 282,900,301
Travatan Z2,861,717
Combivent Respimat2,846,891
Toprol-XL2,811,156
Pristiq2,769,837
Invokana2,711,901
Minastrin 24 Fe2,555,803
Strattera2,418,649
Seroquel XR2,390,205
Vytorin2,384,517
Focalin XR2,334,004
Dulera2,307,692
Levemir Flexpen2,283,328
Zostavax2,279,662
Avodart2,271,799
Pradaxa2,257,507
Chantix2,208,377
Eliquis2,179,340
Humira2,173,082
Levemir Flextouch2,164,191
Levemir2,100,856
Victoza 3-Pak2,078,630
Combigan1,909,750
Exelon1,825,705
Tradjenta1,744,708
Premarin Vaginal1,738,728
Enbrel1,691,819
Onglyza1,691,615
Ranexa1,661,050
Truvada1,651,083
Welchol1,644,996
Linzess1,639,652
Latuda1,635,230
Alphagan P1,483,322
Viibryd1,425,156
Effient1,406,934
Norvir1,376,523
Amitiza1,371,937
Azor1,338,802
Advair HFA1,310,993
Uloric1,293,249
Lotemax1,245,330
Myrbetriq1,230,040
Asmanex Twisthaler1,219,923
Epiduo1,212,887
Xopenex HFA1,204,025
Durezol1,189,206
Patanol1,181,134
Atripla1,147,295
Aggrenox1,144,739
Exforge1,134,532
Humulin R1,110,123
Carafate1,110,008
Novolog Flxpen Mix 70/301,069,219
Relpax1,035,265
Total426,157,198


Key: prescription, prescribed drug, best selling

Source:
http://www.medscape.com/viewarticle/844317#vp_1

ยาแก้เมารถ (dimenhydrinate)

ถาม: คุณจิราพร/นครปฐม
ดิฉันเป็นคนเมารถ เคยซื้อยามากิน เป็นยาสีเหลืองเล็กๆ แบบวงกลม เขาเรียกว่า ยาเมารถ ตอนแรกๆใช้ได้ผล ต่อมาระยะหลังกลับใช้ไม่ได้ผล แถมยังปวดหัวด้วย ปวดมาก ยานี้ถ้าใช้ไปนานๆ จะเป็นอันตรายต่อสุขภาพหรือไม่ และควรซื้อยาอะไรมากิน

ตอบ: โดย นพ.ไพบูลย์ สุริยะวงศ์ไพศาล
ปกติยาแก้เมารถที่นิยมใช้กัน ได้แก่ ไดเมนฮัยดริเนต (dimenhydrinate) มีผลข้างเคียง คือ ง่วงนอน ตาพร่า ปากแห้ง และปัสสาวะลำบาก ยาชนิดนี้และยาชนิดอื่นที่จัดอยู่ในประเภทยาแอนติฮิสตามีน มักใช้ไม่ได้ผลหากใช้ติดต่อกันเป็นระยะเวลานาน เพราะตับจะสร้างเอนไซม์ไว้ขจัดยาออกจากร่างกายโดยเร็วจนยาไม่สามารถออกฤทธิ์ได้ทัน

กรณีนี้ต้องเปลี่ยนไปใช้ยาแอนติฮิสตามีนชนิดอื่น เช่น ไดเฟนฮัยดรามีน (diphenhydramine) ฮัยดรอกซีซีน (hydroxyzine) เป็นต้น

Key: dimenhydrinate, diphenhydramine, hydroxyzine, เมารถ

แหล่งข้อมูล
https://www.doctor.or.th/ask/detail/4707

Sunday, February 14, 2016

ตาแห้ง

ถาม :

ดิฉันมีปัญหาตาแห้ง น้ำตาน้อย รู้สึกระคายเคืองตาบ้าง มีวิธีการรักษาหรือดูแลด้วยตนเองหรือไม่คะ

ตอบโดย : พญ.สุมาลี หวังวีรวงศ์

อาการตาแห้งมีหลายสาเหตุ แต่ที่พบบ่อยคือ มีการสร้างน้ำตาลดลงโดยเฉพาะในคนที่มีอายุมากขึ้น การกินยาบางอย่าง เช่น ยาแก้แพ้ ยาคลายเครียด การใส่คอนแท็กเลนส์ที่ไม่มีคุณภาพหรือไม่ถูกวิธี ภูมิแพ้ที่ตา หนังตาหรือเยื่อตาอักเสบเรื้อรัง ผู้ที่เคยทำเลสิก ผ่าตัดตา ผู้มีปัญหาหลับตาไม่สนิท รวมถึงช่วงหน้าหนาวที่อากาศแห้ง ลมแรง ดื่มน้ำน้อย การอ่านหนังสือหรือใช้คอมพิวเตอร์นานๆ ก็สามารถทำให้น้ำตาระเหยไปได้เช่นกัน

ดังนั้นการดูแลและป้องกันตาแห้ง ควรดูตามสาเหตุ เช่น ผู้ที่ต้องใช้สายตาหรืออยู่หน้าคอมพิวเตอร์ทั้งวัน ควรพักสายตาทุก ๓๐-๖๐ นาที ด้วยการหลับตา ๑-๒ นาที กะพริบตาบ่อยๆ ผู้ที่ใส่คอนแท็กเลนส์ก็ไม่ควรใส่นานเกิน ๘ ชั่วโมงต่อวัน ผู้ที่ต้องกินยาแก้แพ้เป็นประจำ อาจจำเป็นต้องใช้น้ำตาเทียมช่วย ดื่มน้ำมากๆ หลีกเลี่ยงบริเวณที่มีลมแรง
แต่ถ้าต้องการอยู่ในบริเวณที่อากาศแห้ง ร้อน หรือมีลมพัด ควรสวมแว่นเพื่อกันแดดและลมที่เป็นสาเหตุทำให้ตาแห้ง

นอกจากนี้ ถ้ากินอาหารที่ช่วยบำรุงสายตา พวกผัก ผลไม้ ปลาหรืออาหารทะเลที่มีกรดไขมันที่จำเป็นหรือโอเมก้า ๓ จะช่วยให้น้ำตาระเหยช้าลง

อย่างไรก็ตาม เราควรทะนุถนอมดวงตาด้วยการพักสายตาเป็นระยะๆ ไม่ใช้สายตาติดต่อกันนานๆ หลายชั่วโมง และกะพริบตาบ่อยๆ ให้มีน้ำตาเคลือบตาตลอดเวลา เพราะถ้าเราปล่อยให้ตาแห้งมากๆ จะทำให้กระจกตาไม่เรียบใส ผิวกระจกตาอักเสบ จะทำให้มีอาการระคายเคืองและตาพร่ามัวได้

Key: Dry eye, Xerophthalmia, ตาแห้ง

แหล่งข้อมูล
https://www.doctor.or.th/ask/detail/15495

เลือดออกในสมอง

โรคเลือดออกในสมองมีอันตรายต่อชีวิตหรือไม่ อาการเป็นอย่างไร และการป้องกันโรคนี้จะต้องทำอย่างไรบ้าง

โดย : นพ.ประจักษ์ ศรีรพีพัฒน์

โรคเลือดออกในสมอง เป็นโรคที่พบได้บ่อยในปัจจุบัน พบมากในผู้ที่มีอายุ ๔๐ ปีขึ้นไป และผู้ชายมีโอกาสเป็นมากกว่าผู้หญิงประมาณ ๒-๓ เท่า
โรคนี้จัดเป็นกลุ่มหนึ่งของโรคหลอดเลือดสมองร่วมกับโรคสมองขาดเลือด

สาเหตุหลักมาจากภาวะความเสื่อมของหลอดเลือดสมองจากอายุที่มากขึ้นร่วมกับโรคประจำตัว ที่สำคัญคือ โรคความดันโลหิตสูง การสูบบุหรี่เป็นเวลานาน ภาวะแข็งตัวของเลือดบกพร่องรวมถึงการใช้ยาป้องกันเลือดแข็งตัวบางชนิด แต่ในปัจจัยทั้งหลาย อายุที่มากขึ้นร่วมด้วยโรคความดันโลหิตสูงเป็นเวลานาน ยังคงเป็นตัวการสำคัญที่ก่อให้เกิดโรคนี้
อาการของโรคเลือดออกในสมอจะมีลักษณะสำคัญคือ เฉียบพลันและรุนแรง

อาการเฉียบพลันที่สังเกตได้ เช่น ปวดศีรษะรุนแรง เฉียบพลัน มักมีอาการร่วมคือ คลื่นไส้ อาเจียน ชัก หรือกระทั่งหมดสติ อ่อนแรง อัมพาต หรือปากเบี้ยวฉับพลัน ชาเฉียบพลัน พูดลำบากฉับพลัน ตามัวมองไม่เห็นเฉียบพลัน เสียการทรงตัว และบ้านหมุนวิงเวียนเฉียบพลัน
หากสงสัยว่าตนเองหรือคนใกล้ตัวมีอาการข้างต้น ให้พบแพทย์ด่วน เพราะก้อนเลือดในสมองอาจทำให้แรงดันในโพรงกะโหลกศีรษะสูง เลือดไปเลี้ยงสมองไม่พอ ผู้ป่วยจะซึมลงจนหมดสติ หรือก้อนเลือดกดเบียดบริเวณสำคัญ เช่น ก้านสมอง ทำให้อาการทรุดลงรวดเร็ว

นอกจากนี้ ก้อนเลือดอาจทำลายเนื้อสมองที่สำคัญโดยตรง ทำให้ผู้ป่วยมีอาการมากขึ้นได้ ดังนั้น การรักษาผู้ป่วยอย่างเร่งด่วนจึงเป็นสิ่งจำเป็น อาจต้องใช้การผ่าตัดเพื่อนำก้อนเลือดออก หรือใช้ยาลดแรงดันในโพรงกะโหลกศีรษะ ลดสมองบวม ทั้งนี้ขึ้นกับขนาด ตำแหน่ง และความรุนแรงของโรคที่ผู้ป่วยเป็นอยู่

โรคเลือดออกในสมอง ไม่มีวิธีรักษาใดจะดีกว่าการป้องกัน กล่าวคือ เมื่อเข้าสู่วัยสูงอายุ ต้องระวังควบคุมรักษาโรคความดันโลหิตสูงให้เคร่งครัด ลดปัจจัยเสี่ยงอื่นๆ เช่น หยุดสูบบุหรี่ โรคนี้นับเป็นภัยเงียบที่ก่อให้เกิดอันตราย การมีความรู้ความเข้าใจจึงมีความสำคัญ

Key: เลือดออกในสมอง

แหล่งข้อมูล
https://www.doctor.or.th/ask/detail/15497

Saturday, February 13, 2016

เมล็ดเชีย หรือ เมล็ดเจีย



เป็นเมล็ดพืชคล้ายเมล็ดงา เม็ดแมงลัก มีชื่อทางวิทยาศาตร์ว่า Salvia Hispanica เป็นพืชที่ปลูกในประเทศเม็กซิโก มีประโยชน์มากมายดังนี้
- ช่วยเรื่องผิวพรรณและการชะลอวัย
- ช่วยการทำงานของระบบย่อยอาหาร
- ช่วยลดน้ำหนัก
- ช่วยบำรุงหัวใจ
- ป้องกันและบรรเทาโรคเบาหวานประเภท 2
- เสริมสร้างกล้ามเนื้อ และ ซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอ
- บำรุงกระดูกและฟัน


Key: เมล็ดเชีย, เมล็ดเจีย, chia seeds, ลดน้ำหนัก, หัวใจ, เบาหวาน, กระดูก, ฟัน, ผิวพรรณ

แหล่งข้อมูล
http://www.lovefitt.com/healthy-fact/เมล็ดเชีย-คุณประโยชน์เพื่อหุ่นสวยและสุขภาพดี

ช่วยชีวิตคนจมน้ำ


ถาม : ศิวพร/กรุงเทพฯ

หากต้องมีเหตุช่วยเหลือคนตกน้ำแบบกะทันหัน มีวิธีการช่วยเหลือเบื้องต้นอย่างไรบ้าง

ตอบ : นพ.เข็มชาติ หวังทวีทรัพย์

สาเหตุที่ทำให้เสียชีวิตจากการจมน้ำหลักๆ คือ การขาดออกซิเจน ไม่มีออกซิเจนไปเลี้ยงร่างกาย โอกาสที่จะช่วยเหลือผู้จมน้ำได้คือ ผู้จมน้ำจะต้องขาดออกซิเจนในเวลาไม่นาน ถ้าพบว่ายังตัวอุ่นอยู่ หรือคาดคะเนว่าตัวยังไม่เย็นมาก แสดงว่าจมน้ำไม่นาน คนกลุ่มนี้มีโอกาสดีที่จะสามารถช่วยชีวิตให้ฟื้นคืนชีพได้ ต้องรีบให้ออกซิเจนเป็นอันดับแรก และอย่าเสียเวลากับการพยายามเอาน้ำออกจากร่างของผู้จมน้ำ

เมื่อสามารถช่วยผู้จมน้ำขึ้นมาจากน้ำได้ สิ่งสำคัญคือ ต้องมีคนไปตามระบบฉุกเฉิน เช่น รถพยาบาล หรือคนที่มีความรู้ความสามารถทางการแพทย์มาช่วย เพราะการช่วยบริเวณที่เกิดเหตุ ผู้จมน้ำอาจจะไม่รอด ต้องได้รับหรือต้องใช้เครื่องกระตุ้นหัวใจ เพื่อทำให้ผู้จมน้ำมีโอกาสรอดเพิ่มขึ้น

โดยหลักการแล้ว การช่วยเหลือเบื้องต้นคือ ปลุก ถ้าแน่ใจว่าผู้จมน้ำหมดสติ ไม่ตอบสนอง ไม่เคลื่อนไหว หรือไม่หายใจต้องเป่าปากทันที ถ้าเป็นไปได้ควรเริ่มเป่าปากตั้งแต่อยู่ในน้ำ แล้วเมื่อขึ้นมาอยู่ในสถานที่ที่ปลอดภัยแล้ว ผู้ช่วยเหลือควรเป่าปากสลับกับการกดหน้าอกไปเรื่อยๆ จนกว่าจะฟื้น หรือจนกว่าจะถึงมือแพทย์หรือบุคลากรทางการแพทย์ที่มีความเชี่ยวชาญ ถ้าผู้ช่วยเหลือไม่สามารถเป่าปากได้ ก็ควรกดหน้าอกอย่างเดียว ซึ่งดีกว่าไม่ทำอะไรเลย

วิธีเป่าปาก ผู้ช่วยเหลือต้องเปิดทางเดินหายใจให้โล่ง ด้วยการเงยศีรษะ เชยคาง ประกบปาก แล้วเป่าช้าๆ จนเห็นทรวงอกขยับ ๒ ครั้งๆ ละ ๑ วินาที ถ้าเป็นไปได้ให้เป่าปากสลับเป็น ๓๐ ต่อ ๒ คือ กด ๓๐ เป่า ๒ ทำไปเรื่อยๆ จนกว่าจะถึงมือแพทย์หรือทีมรักษาพยาบาล โดยทั่วไปเมื่อเป่าปากหรือกดหน้าอกไปสักพัก ผู้ช่วยเหลือจะเริ่มล้าหรือเหนื่อย ควรมีผู้ช่วยเหลือคนอื่นมาช่วยสลับหน้าที่ เพื่อให้การช่วยเหลือผู้จมน้ำเป็นไปอย่างต่อเนื่อง

ทั้งนี้ การป้องกันการจมน้ำที่ดีที่สุด คือ อย่าให้จมน้ำ 

ระวังกลุ่มเสี่ยงที่สุดคือ เด็กเล็กที่อายุไม่มาก เพราะเด็กจมน้ำในเวลาไม่นานก็อาจถึงขั้นเสียชีวิตได้

ฉะนั้น ระวังอย่าให้เด็กคลาดสายตา และควรมีเครื่องป้องกันตัวเด็กกันจมน้ำ รวมไปถึงผู้ช่วยเหลือคนจมน้ำ ก็ให้ระวังความปลอดภัยของตัวเองในขณะที่ช่วยเหลือด้วย

แหล่งข้อมูล
https://www.doctor.or.th/ask/detail/15483

The world's 10 leading causes of death



1: Ischaemic heart disease
Global deaths: 7 million
http://www.cnbc.com/2014/02/06/the-worlds-ten-leading-causes-of-death.html?slide=11

2: Stroke
Global deaths: 6.2 million
http://www.cnbc.com/2014/02/06/the-worlds-ten-leading-causes-of-death.html?slide=10

3: Lower respiratory infection
Global deaths: 3.2 million
http://www.cnbc.com/2014/02/06/the-worlds-ten-leading-causes-of-death.html?slide=9

4: Chronic obstructive pulmonary disease
Global deaths: 3 million
http://www.cnbc.com/2014/02/06/the-worlds-ten-leading-causes-of-death.html?slide=8

5: Diarrhoeal diseases
Global deaths: 1.9 million
http://www.cnbc.com/2014/02/06/the-worlds-ten-leading-causes-of-death.html?slide=7

6: HIV/AIDS
Global deaths: 1.6 million
http://www.cnbc.com/2014/02/06/the-worlds-ten-leading-causes-of-death.html?slide=6

7: Respiratory cancers
Global deaths: 1.5 million
http://www.cnbc.com/2014/02/06/the-worlds-ten-leading-causes-of-death.html?slide=5

8: Diabetes mellitus
Global deaths: 1.4 million
http://www.cnbc.com/2014/02/06/the-worlds-ten-leading-causes-of-death.html?slide=4

9: Road injury
Global deaths: 1.3 million
http://www.cnbc.com/2014/02/06/the-worlds-ten-leading-causes-of-death.html?slide=3

10: Prematurity
Global deaths: 1.2 million
http://www.cnbc.com/2014/02/06/the-worlds-ten-leading-causes-of-death.html?slide=2


Zika and Pregnancy

 Zika and Pregnancy

The best way to prevent Zika is to prevent mosquito bites.

- Wear long-sleeved shirts and long pants.
- Stay in places with air conditioning or that use window and door screens to keep mosquitoes outside.
- Use Environmental Protection Agency (EPA)-registered insect repellents (bug spray). Always follow the instructions on the label and reapply every few hours.
- Eliminate mosquito breeding sites, like containers with standing water.


 Pregnant and living in an area with Zika

Source:
http://www.cdc.gov/zika/pdfs/preg_areaswithzika.pdf



Source:
http://www.cdc.gov/zika/pdfs/zikapregnancyinfographic.pdf

Key: Pregnant and living in an area with Zika? ,

    Zika Pregnant? Read this before you travel

Number of deaths for leading causes of death

United States 2013

- Heart disease: 611,105
- Cancer: 584,881
- Chronic lower respiratory diseases: 149,205
- Accidents (unintentional injuries): 130,557
- Stroke (cerebrovascular diseases): 128,978
- Alzheimer's disease: 84,767
- Diabetes: 75,578
- Influenza and Pneumonia: 56,979
- Nephritis, nephrotic syndrome, and nephrosis: 47,112
- Intentional self-harm (suicide): 41,149

Source:
http://www.cdc.gov/nchs/fastats/leading-causes-of-death.htm#
http://www.cdc.gov/nchs/data/nvsr/nvsr64/nvsr64_02.pdf

โรคขัอเสื่อม (Osteoarthritis)

โดย รศ.นพ.วัฒนชัย โรนจวณิชย์ 
ภาควิชาศัลยศาสตร์ออร์โธปิดิคส์และกายภาพบำบัด
Faculty of Medicine Siriraj Hospital 
คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล

ถาม. ลักษณะอย่างไรถึงเรียกว่า โรคขัอเสื่อม
ตอบ. โรคข้อเสื่อมเป็นโรคที่เกิดกับข้อ เป็นในกลุ่มของผู้สูงอายุ ที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป อย่างไรก็ตามสามารถเกิดขึ้นกับคนที่มีอายุน้อยกว่านั้น ส่วนใหญ่จะพบในผู้หญิง ที่มีรูปร่างอ้วน โดยจะมีลักษณะอาการปวด โดยเฉพาะเวลาเดิน แม้จะเดินในที่ราบ เดินไปสักครู่จะต้องพัก ผู้ป่วยบางรายเวลาลุกออกจากเก้าอี้ไม่สามารถลุกเดินได้ทันที จะต้องตั้งหลักสักครู่ถึงจะก้าวเดินได้ ในรายที่เป็นมากอาจไม่สามารถก้าวเดินได้ ส่วนใหญ่ผู้ป่วยจะไม่สามารถนั่งยองๆได้ คุกเข่าได้

ถาม. ตำแหน่งที่มักพบบ่อยได้แก่ตำแหน่งใด
ตอบ. ความจริงโรคข้อเสื่อมสามารถเกิดขึ้นได้ตามข้อต่างๆในร่างกาย ที่พบบ่อยได้แก่ ข้อเข่า ข้อสะโพก บั้นเอว กระดูกคอ ก็จะพบความเสื่อมของข้อกกระดูกได้อย่างชัดเจน ที่พบน้อยมาก อาจจะเป็นข้อไหล่ ข้อศอก ข้อเท้า ข้อนิ้วมื้อ ข้อนิ้วเท้า

ถาม. สาเหตุหรือว่าปัจจัยเสี่ยง
ตอบ. ปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญที่สุด คือ เรื่องของอายุ เรื่องของกรรมพันธุ์ รูปร่างลักษณะร่างกาย รวมทั้งการใช้งาน เช่นอาชีพที่มีการเคลื่อนไหวข้อนั้นๆมากๆ ก็จะมีโอกาสทำให้เกิดการเสื่อมสภาพได้เช่นเดียวกันอีกกลุ่มหนึ่ง ก็คือ ผู้ป่วยที่มีประวัติบาดเจ็บของข้อนั้นๆ หรือเคยผ่านการผ่าตัดของข้อนั้นๆมา ก็อาจจะเป็นอีกสาเหตุหนึ่งได้

ถาม. เราจะทราบได้อย่างไรว่าอาการปวดที่เกิดขึ้นเกิดจากสาเหตุของข้อเสื่อม
ตอบ. จริงๆสามารถจะทราบได้จากการซักประวัติของผู้ป่วยอย่างคร่าวๆได้ น่าจะคิดถึงจากปัจจัยเสี่ยงหลายๆอย่างร่วมกัน แต่อย่างไรการตามการตรวจร่างกายจะสามารถทำในการวินิจฉัยแน่นอนชัดเจนยิ่งขึ้น เช่น การตรวจข้อ ข้อนั้นมีการเคลื่อนไหวที่เต็มพิสัยของข้อ แสดงว่า เป็นน้อย คนที่เป็นมากขึ้น เช่น ข้อเข่าจะไม่สามารถงอได้สุด หรือเหยียดไม่ได้สุด หรือมักพบเสียงที่ผิดปกติเกิดขึ้นระหว่างการเคลื่อนไหว บางคนจะเรียกว่า ข้อฝืด ซึ่งความผิดปกติต่างๆเหล่านี้สามารถตรวจร่างกายได้ โดยเฉพาะการถ่ายภาพรังสี จะทำให้ชัดเจนยิ่งขึ้น

ถาม. วิธีการรักษาในปัจจุบัน มีกี่วิธี
ตอบ. การรักษาในปัจจุบัน วิธีที่นิยมและเริ่มต้นรักษาในปัจจุบัน เรียกว่า การรักษาอนุรักษ์นิยม คือ แพทย์จะอธิบายความเป็นมาที่ของโรคนี้ให้ผู้ป่วยเข้าใจ ให้ผู้ป่วยเข้าใจและสามารถดูแลปฏิบัติตนเองได้ในระดับหนึ่ง ในกลุ่มของผู้ป่วยที่มีการดูแลแล้วยังมีอาการเจ็บปวด ก็จะต้องอาศัยยาเข้าไปช่วย เช่น การรับประทานยาแก้ปวด ยาต้านอักเสบ มีการปรับเปลี่ยนรองเท้า หรือใช้เครื่องพยุงข้อเข่าซึ่งเป็นการรักษาเบื้องต้นที่คนไข้จะต้องร่วมมือกับแพทย์ที่ทำการรักษาด้วย

ถาม. ความสำคัญและความจำเป็นที่ต้องมาพบแพทย์เมื่อเกิดอาการเริ่มต้น
ตอบ. การมาพบแพทย์แต่เนิ่นๆ จะเกิดประโยชน์มากกว่าในแง่ที่ว่า ถ้าหากเกิดการเปลี่ยนแปลงเพียงไม่มาก ก็สามารถดูแลรักษาด้วยตนเองได้ สำหรับในกลุ่มที่จำเป็นจะต้องทำการรักษาตามวิธีอย่างที่ได้เรียนมาข้างต้น นอกจากการรับประทานยาและการดูแลปฏิบัติตนเองแล้ว อาจจะต้องรักษาด้วยการผ่าตัดร่วมด้วย อีกวิธีหนึ่งที่เป็นนวตกรรมในระยะเวลา 10- 20 ปี ที่ผ่านมาก็คือ การใช้กล้องส่องข้อเข้ามาร่วมในรักษา จะรักษาในกรณีที่ผู้มีลักษณะของขาที่โก่งไม่มาก มีอาการอักเสบบวมของข้อนั้นๆเป็นระยะเวลายาวนาน ในกรณีที่ผู้ป่วยที่มีลักษณะที่โก่งมาก แต่อายุไม่มาก เช่น อายุ 50 ต้นๆ ก็สามารถจะทำการจัดแนวขาให้ตรง คล้ายกับคนปกติ ด้วยวิธีการผ่าตัดปรับแนวขา สำหรับขั้นตอนสุดท้าย ก็คือ การผ่าตัดเปลี่ยนผิวข้อ ซึ่งหมายถึง การถากผิวกระดูกไม่เกิน 10 มิลลิเมตร คล้ายๆกับการรักษาทางทันตกรรมก็คือ การครอบฟัน ซึ่งการดูแลรักษาข้อเข่าเสื่อมจะใช้วัสดุซึ่งเป็นสารผสมสวมขึ้นไปทั้งด้านบนและล่าง และตรงกลางของข้อจะมีวัสดุพิเศษที่ใช้ในการเคลื่อนไหว

ถาม. การออกกำลัง การบริหาร ควรเลือกประเภทใดที่เหมาะสม
ตอบ. ในปัจจุบันประชาชนให้ความสนใจในเรื่องการดูแลเอาใจใส่ในเรื่องของสุขภาพมากขึ้นเรื่อยๆ วิธีการออกกำลังกายที่เหมาะสมและดีที่สุดก็คือ การเดินออกกำลังกายในพื้นราบ โดยมีระยะทาง 1-2 กิโลเมตร จะดีกับทุกเพศทุกวัยและไม่กระทบกระเทือนผิวข้อจนเกินไป ส่วนการวิ่งคงจะเหมาะสมกับคนที่มีสุขภาพร่างกายแข็งแรง อายุน้อย ก็สามารถปฏิบัติได้ ในกลุ่มผู้ป่วยที่สูงอายุ ควรเลือกการเดิน ก็จะเหมาะสมที่สุด ส่วนกิจกรรมอื่นๆ เช่น การว่ายน้ำ การขี่จักรยาน การรออกกำลังกายเหล่านี้ก็จะมีส่วนช่วยในการเสริมสร้างพละกำลังของกล้ามเนื้อต้นขาได้เป็นอย่างดี


ถาม. จะมีวิธีการป้องกันอย่างไร
ตอบ. ควรหลีกเลี่ยงกิจกรรมที่มีผลกระทบสำหรับข้อเข่า หมั่นบริหารข้อเข่าให้แข็งแรง คนที่ที่เคยมีประวัติเจ็บป่วยที่ข้อเข่า ควรจะปรึกษาแพทย์ และรับการรักษาที่ถูกต้อง จะทำให้ข้อนั้นเสื่อมช้าลง คนที่มีโรคประจำตัว เช่น โรคเก๊าท์ ควรจะต้องติดตามและรักษาอย่างใกล้ชิด เพื่อช่วยชะลอการเสื่อมของข้อได้

Key: โรคขัอเสื่อม, Osteoarthritis

แหล่งข้อมูล
http://www.si.mahidol.ac.th/sidoctor/e-pl/articledetail.asp?id=159

Friday, February 12, 2016

คำแนะนำเรื่อง หลักประกันสุขภาพ


ใครคือผู้มีสิทธิ หลักประกันสุขภาพ
ทำอย่างไรถึงได้สิทธิหลักประกันสุขภาพ
เครือข่ายหน่วยบริการ(กทม.)
เครือข่ายหน่วยบริการ(ส่วนภูมิภาค)
ข้อมูลพื้นฐานหน่วยบริการ

ตามพระราชบัญญัติหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.2545 มาตรา 5 กำหนดให้ บุคคลทุกคนมีสิทธิได้รับบริการสาธารณสุข ที่มีมาตรฐาน และมีประสิทธิภาพตามที่กำหนด ในพระราชบัญญัติ ซึ่งบุคคลในที่นี้ หมายถึง บุคคลที่มีสัญชาติไทย

ดังนั้น ผู้มีสิทธิหลักประกันสุข ภาพ คือ บุคคลที่มีสัญชาติไทย มีเลขประจำตัวประชาชน 13 หลัก และไม่มีสวัสดิการด้านการรักษาพยาบาลอื่นใดที่รัฐจัดให้

ตัวอย่างบุคคลที่มีสวัสดิการด้านการรักษาพยาบาลจากรัฐ เช่น

ผู้มีสิทธิตามพระราชบัญญัติประกันสังคม เช่น ลูกจ้างที่ทำงานในกิจการที่มีลูกจ้างตั้งแต่ 1 คน ขึ้นไปยกเว้น ลูกจ้างทำงานบ้าน หาบเร่ แผงลอย หรือลูกจ้างของบุคคลธรรมดา ที่ไม่มีการประกอบธุรกิจรวมอยู่ด้วย
ผู้มีสิทธิตามพระราชกฤษฎีกาเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล เช่น ข้าราชการ ลูกจ้าง ประจำของส่วนราชการ และครอบครัว
ผู้อยู่ในความคุ้มครองของหลักประกันสุขภาพอื่นที่รัฐจัดให้ เช่น พนักงานรัฐวิสาหกิจ พนักงานหรือเจ้าหน้าที่ในองค์กรอิสระ ครูโรงเรียนเอกชนในระบบ
ทำอย่างไรถึงได้สิทธิหลักประกันสุขภาพ

ต่างจังหวัด ติดต่อลงทะเบียนสิทธิหลักประกันสุขภาพได้ที่

สถานีอนามัย (วัน - เวลาราชการ)
โรงพยาบาลของรัฐที่อยู่ใกล้บ้าน (วัน - เวลาราชการ)
สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด (วัน - เวลาราชการ)
กรุงเทพมหานคร ติดต่อลงทะเบียนสิทธิหลักประกันสุขภาพได้ที่

สำนักงานเขตที่อยู่ใกล้บ้าน เปิดให้บริการในวันจันทร์ - ศุกร์ ตั้งแต่เวลา 08.00 - 16.00 น.
ใช้หลักฐานอะไรบ้าง

สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนหรือบัตรประจำตัวที่มีรูปถ่ายซึ่งทางราชการออกให้ หากเป็นเด็กอายุต่ำกว่า15ปี ใช้สำเนาสูติบัตร (ใบเกิด)
สำเนาทะเบียนบ้านที่ผู้ขอมีชื่ออยู่
แบบคำร้องลงทะเบียนผู้มีสิทธิหลักประกันสุขภาพ/ขอเปลี่ยนหน่วยบริการประจำ (>>ดาวน์โหลด<<)
กรณีพักอาศัยไม่ตรงตามทะเบียนบ้าน ให้แสดงหลักฐานอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังนี้

สำเนาทะเบียนบ้านของบุคคลที่ตนไปพักอาศัยอยู่ พร้อมหนังสือรับรองของเจ้าบ้าน
หนังสือรับรองของผู้นำชุมชน ซึ่งรับรองว่าผู้ขอลงทะเบียนได้พักอาศัยอยู่ในพื้นที่นั้นๆ
หนังสือรับรองของผู้ว่าจ้างหรือนายจ้าง
เอกสารหรือหลักฐานอื่น เช่น สัญญาเช่าที่พัก ใบเสร็จรับเงินค่าเช่าที่พัก ใบเสร็จรับเงินค่าน้ำ ใบเสร็จรับเงินค่าโทรศัพท์บ้าน ฯลฯ ที่แสดงว่าผู้ขอลงทะเบียนได้พักอาศัยอยู่ในพื้นที่นั้นๆ จริง

Key: หลักประกันสุขภาพ


แหล่งข้อมูล
http://www.nhso.go.th/FrontEnd/page-forpeople_nhso.aspx

Thursday, February 11, 2016

ความเหลื่อมล้ำ 3 ระบบประกันสุขภาพ

ระบบประกันสุขภาพของไทยประกอบด้วยสามกองทุนหลัก โดยมีหน่วยงานที่รับผิดชอบแตกต่างกันดังนี้

ประเภทกองทุน
หน่วยงานที่รับผิดชอบ
1. กองทุนสวัสดิการรักษาพยาบาลข้าราชการ
กรมบัญชีกลาง สังกัดกระทรวงการคลัง
2. กองทุนประกันสังคม
สำนักงานประกันสังคม (สปส.)
3. กองทุนหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า หรือกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ
สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.)


การบริหารจัดการที่แยกส่วนกัน การดำเนินการของแต่ละกองทุนอย่างเป็นเอกเทศ และการเกิดขึ้นต่างกรรมต่างวาระ ทำให้มีปัญหาตามมามากมาย

โดยเฉพาะอย่างยิ่งสิทธิประโยชน์ในการรักษาพยาบาลที่แตกต่างกัน

ปัญหาของระบบประกันสุขภาพของไทยมีอะไรบ้าง และ “ระบบประกันสุขภาพในฝัน” ควรเป็นอย่างไร




แหล่งข้อมูล
http://tdri.or.th/tdri-insight/tdri-factsheet-29/

ถาม ตอบ ปัญหาสุขภาพ


    ผู้เขียนตั้งใจรวบรวมข้อมูล ความรู้จากแหล่งต่าง ๆ ที่น่าสนใจเกี่ยวกับ คำถามและคำตอบ รวมถึงต้องการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ ด้านการรักษา ป้องกัน สุขภาพกาย และสุขภาพใจ ให้มีความแข็งแรง และมีกำลังใจที่ดีอยู่เสมอ เพื่อใช้สำหรับเป็นแนวทางให้ผู้อ่านทุกท่านได้ใช้ในการประกอบการตัดสินใจ หาวิธีจัดการกับโรคภัยไข้เจ็บ หรือความทุกข์ที่เกิดขึ้นทางใจ ได้ด้วยตนเองในเบื้องต้น ดังสุภาษิตที่ว่า อัตตาหิ อัตตโนนาโถ (ตนเป็นที่พึ่งแห่งตน)  หากผิดพลาดประการใด ต้องขออภัยท่านผู้อ่านทุกท่านไว้ ณ ที่นี้ด้วยครับ

สิทธิในการรักษาพยาบาล-ความสัมพันธ์ระหว่างผู้ให้บริการ กับผู้รับบริการทางด้านสาธารณสุข

โดย สภานิติบัญญัติแห่งชาติ


Key: Seanate, สภานิติบัญญัติแห่งชาติ

แหล่งข้อมูล
http://www.senate.go.th/lawdatacenter/includes/FCKeditor/upload/Image/b/IN37_jul_8_3.pdf

10 เรื่องควรรู้ สิทธิหลักประกันสุขภาพ


 10 เรื่องควรรู้ สิทธิหลักประกันสุขภาพ

     สิทธิหลักประกันสุขภาพ เป็นสิทธิของคนไทยตามกฎหมาย ส่งเสริม
ให้คนไทยเข้าถึงบริการสาธารณสุขได้อย่างทั่วถึง และมีประสิทธิภาพ
ทั้งการสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรค การตรวจวินิจฉัยโรค
การรักษาพยาบาล และการฟื้นฟูสมรรถภาพที่จำเป็นต่อสุขภาพ
และการดำรงชีวิต......
     10 เรื่องควรรู้ สิทธิหลักประกันสุขภาพ รวบรวมสาระสำคัญ
เพื่อความเข้าใจเกี่ยวกับสิทธิการรักษาพยาบาล การตรวจสอบสิทธิ
เอกสารการลงทะเบียน การใช้สิทธิกรณีทั่วไป/กรณีเจ็บป่วยฉุกเฉิน
บริการที่ได้รับสิทธิคุ้มครองค่าใช้จ่าย การขอรับเงินช่วยเหลือเบื้องต้น
กรณีได้รับความเสียหายจากการรักษาพยาบาล....

Key: สิทธิหลักประกันสุขภาพ

แหล่งข้อมูล
http://www.nhso.go.th/files/userfiles/file/PR/10%20เรื่องควรรู้สิทธิหลักประกันฯ%20Update.pdf

Wednesday, February 10, 2016

รายงานฉบับสมบูรณ์ โครงการพัฒนาแนวทางอภิบาลระบบหลักประกันสุขภาพ


 รายงานฉบับสมบูรณ์ 2556


แหล่งข้อมูล
http://tdri.or.th/wp-content/uploads/2014/08/final-report-thailand-health-insurance.pdf

ปฏิรูประบบสุขภาพไทยต้องรวม 3 กองทุนสุขภาพหรือไม่


โดย เดือนเด่น นิคมบริรักษ์ / ธารทิพย์ ศรีสุวรรณเกศ

ประเด็นเรื่องการรวม 3 กองทุนสุขภาพหลักของประเทศไทยเป็นข่าวคราวมาโดยตลอดในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา และรัฐบาลต่างๆ ก็มีความพยายามที่จะปฏิรูประบบสุขภาพของไทยแต่ก็ยังไม่ได้ข้อสรุปที่ชัดเจน เนื่องจากผู้เขียนได้มีโอกาสในการศึกษาการบริหารจัดการระบบประกันสุขภาพในต่างประเทศจึงขอร่วมเสนอความเห็นเกี่ยวกับประเด็นดังกล่าวด้วยเพื่อจะเป็นประโยชน์ต่อการพิจารณานโยบายการบริหารจัดการระบบสุขภาพของประเทศไม่มากก็น้อยดังต่อไปนี้

ระบบประกันสุขภาพของไทยนั้นเกิดขึ้นมาต่างคราวต่างวาระกันทำให้มีรูปแบบหน้าตาต่างกัน ระบบสวัสดิการรักษาพยาบาลข้าราชการซึ่งเป็นระบบประกันสุขภาพระบบแรกที่ให้แก่ข้าราชการและครอบครัว ซึ่งในปัจจุบันมีผู้ที่อยู่ภายใต้ระบบนี้ประมาณ 5 ล้านคน กองทุนประกันสังคมเป็นระบบประกันสุขภาพสำหรับลูกจ้างภาคธุรกิจที่อยู่ในระบบซึ่งเกิดขึ้นมาเมื่อปี พ.ศ. 2533 ปัจจุบันมีสมาชิกประมาณ 10 ล้านคน และระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า (30 บาทรักษาทุกโรค) ซึ่งเกิดขึ้นใน ปี พ.ศ. 2545 สมัยรัฐบาลนายกฯ ทักษิณ ชินวัตร เป็นระบบสุขภาพสำหรับคนไทยเกือบ 50 ล้านคนที่ไม่ได้อยู่ในระบบประกันสุขภาพสองระบบแรกทำให้ประเทศไทยเป็นประเทศกำลังพัฒนาไม่กี่ประเทศในโลกที่มีระบบประกันสุขภาพถ้วนหน้า (Universal healthcare) นอกจากระบบประกันสุขภาพทั้ง 3 ระบบดังกล่าวแล้ว ยังมีระบบประกันสุขภาพของคนต่างด้าว สวัสดิการสำหรับพนักงานรัฐวิสาหกิจ รวมทั้งองค์กรอิสระของรัฐ เช่น ธนาคารแห่งประเทศไทย มหาวิทยาลัย ตลอดจนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและข้าราชการของกรุงเทพมหานครต่างก็มีระบบประกันสุขภาพให้แก่พนักงานของตนเอง

ปัญหาที่เกิดขึ้นซึ่งนำไปสู่การประเด็นเรื่องของการรวม 3 กองทุน คือ ความเหลื่อมล้ำของทั้งสิทธิในการได้รับการรักษาพยาบาลในสถานพยาบาลที่แตกต่างกัน ประเภทของโรคที่ได้รับสิทธิในการรักษาพยาบาล ตลอดจนคุณภาพของการรักษาที่อาจแตกต่างกันเนื่องจากระบบแต่ละระบบมีการกำหนดอัตราการเบิกจ่ายแต่ละโรคที่แตกต่างกัน เช่น การฟอกไตสำหรับข้าราชการได้รับสิทธิในการรักษาไม่เกิน 2,000 บาทต่อครั้งไม่จำกัดจำนวนครั้งต่อสัปดาห์ ขณะที่ระบบประกันสังคมได้รับสิทธิ 1,500 บาทต่อครั้งไม่เกิน 3 ครั้งต่อสัปดาห์ และผู้ป่วยในระบบ 30 บาทรักษาทุกโรคได้รับสิทธิในการฟอกไต 1,500 – 1,700 บาทต่อครั้งไม่จำกัดจำนวนครั้ง เป็นต้น โดยที่ข้าราชการสามารถเข้ารับสิทธิในการรักษาจากสถานพยาบาลของรัฐได้ทุกแห่ง ในขณะที่อีก 2 ระบบนั้นสามารถรับการรักษาพยาบาลเฉพาะสถานพยาบาลของรัฐหรือเอกชนที่เป็นเครือข่ายที่ลงทะเบียนไว้เท่านั้น ยกเว้นกรณีการเจ็บป่วยฉุกเฉินถึงแก่ชีวิต สามารถเข้ารักษาได้ทุกโรงพยาบาลที่ใกล้ที่สุด นอกจากนี้แล้ว ประเด็นของการชดเชยความเสียหายกรณีที่ผู้ป่วยได้รับความเสียหายจากการรักษาพยาบาล มีเพียงระบบ 30 บาทรักษาทุกโรคเท่านั้นที่ได้รับสิทธิในการชดเชยเบื้องต้นจากการรักษาที่ผิดพลาดกรณีที่ไม่สามารถหาผู้กระทำผิดได้ หรือกรณีที่หาได้แต่ยังไม่ได้รับการชดเชยจากกระบวนการศาลซึ่งต้องใช้เวลา

นอกจากความแตกต่างของสิทธิต่างๆที่กล่าวมาแล้ว ยังมีประเด็นเรื่องภาระค่าใช้จ่ายที่ต่างกันอีกด้วยโดยผู้ที่เป็นสมาชิกระบบประกันสังคมเป็นคนกลุ่มเดียวที่ต้องร่วมจ่ายเข้ากองทุนประกันสังคมในอัตราหนึ่งในสาม ส่วนที่เหลืออีกสองในสามร่วมจ่ายโดยรัฐและนายจ้าง ในขณะที่ข้าราชการและผู้ใช้ระบบ 30 บาทรักษาทุกโรคไม่ต้องร่วมจ่าย การร่วมจ่ายดังกล่าวอาจไม่เป็นประเด็นมากนักหากได้รับเงื่อนไขการรักษาพยาบาลที่ดีกว่ากลุ่มอื่น แต่ผู้ประกันตนในระบบประกันสังคมกลับพบว่า ในหลายกรณีกลับได้รับเงื่อนไขที่ด้อยกว่าระบบ 30 บาทรักษาทุกโรคดังเช่นในกรณีของการฟอกไตที่ได้กล่าวมาแล้ว หรือแม้แต่อัตราการเบิกจ่ายหลายโรคที่ต่ำกว่าอีกสองระบบ เช่น โรคเนื้องอกในระบบประสาท (รหัสกลุ่มโรค DRG 01520) มีอัตราการเบิกจ่ายเพียง 4,800 บาทเทียบกับระบบสวัสดิการข้าราชการที่มีอัตรา 10,462 บาท และระบบ 30 บาทรักษาทุกโรคมีอัตราเบิกจ่าย 8,033 บาทเป็นต้น ทำให้เกิดความไม่พอใจและมีการเรียกร้องให้ยกเลิกการจ่ายเงินสมทบให้แก่กองทุนประกันสังคมในส่วนของการรักษาพยาบาล (แต่ยังคงจ่ายในส่วนของสวัสดิการอื่นๆ เช่น การได้รับเงินทดแทนในกรณีลาป่วยหรือลาคลอด เป็นต้น)

ความแตกต่างเหล่านี้ทำให้มีการตั้งคำถามว่าระบบประกันสุขภาพของไทยนั้นขัดกับมาตรา 51 แห่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 หรือไม่? ภายใต้หมวด “สิทธิในการได้รับบริการสาธารณสุขและสวัสดิการจากรัฐ” ซึ่งบัญญัติไว้ว่า “บุคคลย่อมมีสิทธิเสมอกันในการรับบริการทางสาธารณสุขที่เหมาะสมและได้มาตรฐาน”

การศึกษาระบบประกันสุขภาพในหลายประเทศทั่วโลกพบว่าหลายประเทศมีกองทุนสุขภาพที่หลากหลายเช่นเดียวกับไทยแต่กองทุนต่างๆ เหล่านั้นอยู่ภายใต้ระบบเดียวกันและภายใต้การกำกับของหน่วยงานเดียว ตัวอย่างเช่น ประเทศฝรั่งเศส แบ่งกองทุนสุขภาพได้เป็น 3 กองทุนหลัก คือ กองทุนสำหรับพนักงานบริษัท กองทุนประกันสุขภาพสำหรับเกษตรกร และกองทุนประกันสุขภาพสำหรับผู้ที่มีอาชีพอิสระ แม้กองทุนเหล่านี้จะมีการบริหารทางการเงินที่แยกกัน แต่ทุกกองทุนอยู่ภายใต้ระบบประกันสุขภาพแห่งชาติ (National Health Insurance) ซึ่งมีข้อกำหนดเกี่ยวกับสิทธิประโยชน์พื้นฐานที่เหมือนกัน และมีเงื่อนไขเกี่ยวกับภาระค่าใช้จ่ายที่คล้ายคลึงกัน การมีกองทุนสุขภาพที่หลากหลายนั้นมิได้หมายถึงการมีสิทธิประโยชน์หรือคุณภาพในการรักษาพยาบาลที่ต่างกัน รัฐต้องสามารถวางกฎ กติกาในการกำกับดูแลกองทุนเหล่านี้มิให้เกิดความเหลื่อมล้ำกัน

การปฏิรูประบบสุขภาพของไทยเพื่อลดความเหลื่อมล้ำอาจไม่จำเป็นต้อง “รวมกองทุน” และไม่จำเป็นต้องทำให้สิทธิประโยชน์ของแต่ละกองทุนเหมือนกันหมด หากแต่ต้องมีการสร้างระบบประกันสุขภาพร่วมกันโดยมีการกำหนดชุดสิทธิประโยชน์ในการรักษาพยาบาล “พื้นฐาน” ที่คนไทยทุกคนพึงได้รับไม่ว่าจะเป็นข้าราชการ ลูกจ้างบริษัท หรือแรงงานนอกระบบ ชุดสิทธิประโยชน์ดังกล่าวอาจเป็นชุดสิทธิประโยชน์ของระบบประกันสุขภาพถ้วนหน้าในปัจจุบันก็ได้ โดยคนไทยทุกคนจะได้รับสิทธิประโยชน์พื้นฐานดังกล่าวโดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายอย่างเท่าเทียมกัน หรือหากรัฐเห็นว่าควรมีการร่วมรับภาระค่าใช้จ่ายก็จะต้องร่วมจ่ายภายใต้เงื่อนไขที่เหมือนกันยกเว้นผู้ที่มีรายได้น้อยเท่านั้นมิใช่ผู้ที่ใช้ระบบประกันสุขภาพถ้วนหน้าเกือบ 50 ล้านคนทั้งหมดเนื่องจากประเทศไทยมีผู้ที่มีรายได้สูงแต่อยู่นอกระบบจำนวนมาก

เมื่อมีชุดสิทธิประโยชน์พื้นฐานแล้ว กองทุนหรือระบบประกันสุขภาพแต่ละแห่งสามารถเก็บค่าประกันสุขภาพสำหรับสมาชิกของตนเฉพาะสำหรับสิทธิในการรักษาพยาบาลที่เพิ่มเติมจากชุดสิทธิประโยชน์มาตรฐานหรือในต่างประเทศที่เรียกว่า “add on” เท่านั้น เช่น กรณีของระบบสวัสดิการข้าราชการ กรมบัญชีกลางต้องเป็นผู้จ่ายเพิ่มให้กับข้าราชการซึ่งเป็นลูกจ้างเพื่อที่จะได้รับสิทธิในการเลือกใช้บริการที่โรงพยาบาลของรัฐได้ทุกแห่ง (Roaming) ซึ่งถือว่าเป็น “สวัสดิการ” ที่รัฐให้แก่พนักงานของตน หรือกองทุนประกันสังคมอาจเก็บค่าประกันจากสมาชิกเฉพาะในส่วนของการได้รับเงินทดแทนการขาดรายได้กรณีที่ลาป่วย หรือการได้รับสิทธิในการตรวจสายตาและตัดแว่น เป็นต้น

การที่เรามีระบบการรักษาพยาบาลกลางและใช้วิธี add on ดังกล่าวจะช่วยลดความเหลื่อมล้ำของทั้งการเข้าถึงและคุณภาพการรักษาพยาบาลและยังช่วยประหยัดต้นทุนในการบริหารจัดการอีกด้วย เพราะทุกวันนี้สถานพยาบาลแต่ละแห่งต้องเสียทรัพยากรในการบริหารจัดการสำหรับการเบิกจ่ายค่ารักษาพยาบาลของแต่ละกองทุนที่มีกระบวนการและขั้นตอนที่แตกต่างกัน ในขณะเดียวกันทั้งสามกองทุนสามารถร่วมแบ่งปันทรัพยากรในการบริหารข้อมูลต้นทุนของการรักษาพยาบาลสำหรับการวางระบบในการตรวจสอบการเบิกจ่าย (financial audit) ตลอดจนการตรวจสอบคุณภาพของการรักษาพยาบาล (clinical audit) อีกด้วย

สุดท้าย แม้ผู้เขียนเห็นว่าหากเราสามารถพัฒนาระบบกลางดังกล่าวขึ้นมาได้อาจไม่มีความจำเป็นในการรวมสามกองทุน แต่ขอหยิบยกประเด็นที่ควรมีการพิจารณาเพิ่มเติมสองประเด็น ประเด็นแรกคือ เราควรมีการกำหนดกรอบของสิทธิประโยชน์ที่แตกต่างกันระหว่างกองทุนหรือไม่ การศึกษาในต่างประเทศพบว่าสิทธิประโยชน์ “พิเศษ” ที่นายจ้างให้ลูกจ้างหรือนายจ้างกับลูกจ้างรับภาระร่วมกันนั้นจะต้องอยู่ในกรอบที่กำหนดมิใช่เป็นสิทธิพิเศษในการได้รับการรักษาพยาบาลที่รวดเร็ว (ลัดคิว) กว่ากลุ่มอื่นๆ เพราะจะเป็นการแย่งชิงทรัพยากรการดูแลสุขภาพที่มีจำกัดของประเทศ

ประการที่สอง สิทธิในการรักษาพยาบาลของกองทุนประกันสังคมของไทยแตกต่างจากของประกันสังคมประเทศอื่นๆ คือ สิทธิดังกล่าวจะถูกจำกัดเฉพาะในช่วงที่สมาชิกยังคงสถานภาพการเป็นลูกจ้างเท่านั้น เมื่อลูกจ้างเกษียณงานแล้วจะต้องไปใช้สิทธิของระบบ 30 บาทรักษาทุกโรคแทน ซึ่งผู้เขียนเห็นว่าหากสิทธิประโยชน์ของกองทุนประกันสังคมกับระบบ 30 บาทรักษาทุกโรคไม่ต่างกันดังเช่นกรณีที่เสนอให้มีชุดสิทธิประโยชน์กลางก็ไม่น่าจะมีปัญหา แต่หากมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญดังนั้นควรมีการพิจารณาให้มีสิทธิในการรักษาพยาบาลแก่สมาชิกอย่างต่อเนื่องแม้จะเกษียณอายุงานไปแล้วดังเช่นในต่างประเทศโดยอาจมีการพิจารณาถึงค่าใช้จ่ายที่เหมาะสมเพื่อที่สมาชิกจะไม่ถูก “ผลัก” ออกจากระบบดังที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน

Key: ปฏิรูประบบสุขภาพไทย

แหล่งข้อมูล
http://tdri.or.th/tdri-insight/20150521/